> #01007 เฟินดูดซับสารพิษ || Back |
# 01007 เฟินดูดซับสารพิษ เมื่อเดือน ม.ค. 2545 ที่ผ่านมา มีรายงานการค้นพบว่า เฟินบางชนิดสามารถดูดสารพิษได้เป็นจำนวนมากจากดินมันเจริญเติบโต โดย ดร. Lena Ma แห่งมหาวิทยาลัยแห่งฟลอลิดา สหรัฐอเมริกา ได้สังเกตพบว่า เฟินเงิน หรือ Brake Fern (Pteris vittata) ที่เลี้ยงทดลองไว้ในห้องปฏิบัติการ สามารถเจริญเติบโตบนดินที่มีสิ่งปนเปื้อนอันตราย อย่างเช่น โลหะหนัก Chroated copper arsenate และดูดซึมสารพิษนำเข้าไปเก็บไว้ต้นและใบของมัน อีกทั้งยังเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่าเฟินที่ปลูกในดินธรรมดาถึง 2 เท่า Arsenic คือ สารหนู เป็นสารพิษที่จากโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้สารหนูสำหรับตรึงธาตุเหล็กออกจากวัตถุดิบ ในงานอุตสาหกรรมผลิตกระจก และแผงวงจรสารกึ่งตัวนำ สารหนูเหล่านี้ได้แพร่กระจายออกไปในธรรมชาติอย่างกว้างขวาง ในประเทศชิลี บังคลาเทศ ไต้หวัน มีรายการตรวจพบว่า สารหนูนี้ แพร่กระจายไปในธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำ โดยซึมผ่านชั้นดินและหิน และเข้าไปอยู่ในชั้นน้ำบาดาล ซึ่งสารหนูนี้ มีผลทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ผิวหนังได้ จากการค้นพบครั้งนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เฟินเงินนี้ สามารถนำไปปลูกเพื่อดูดสารพิษออกจากดินและแหล่งน้ำได้ นักวิทยาศาสตร์ในบังคลาเทศยังมีข้อมูลการค้นพบ ความสามารถของเฟินในการดูดซับสารพิษได้ดี ตัวอย่างเช่นเฟินบอสตัน สามารถดูดซับสารพิษจำพวก formaldehyde ในบรรยากาศได้ดี เฟินที่มีชื่อว่า Rock Fern (Cheilanthes sieberi) ในออสเตเรียพบว่า สามารถดูดสารพิษจำพวก
Thiaminase ได้ในระดับสูง |
Links : เกี่ยงข้อง-น่าสนใจ Fern eats up arsenic : BBC News : Wednesday, 31 January, 2001, 22:21 GMT ENVIRONMENTAL RESEARCH IN ACADEMIA : Israel Environment Bulletin Summer 1997-5758, Vol. 20, No. 3 THIAMINASES : Animal Science at Cornell University Green Cleaning Robots : Michele Driscollalioto, Northern Californai's Largest Newspaper Fern as remediator of soils : SCIENCE TRIBUNE Fern may be nature's housekeeper : By TIM LOCKETTE Sun staff writer , Thursday, February 1, 2001 |
> #01007 เฟินดูดซับสารพิษ || Back |