> #01008 ไทยพบเฟิร์นชนิดใหม่ของโลก "แววปีกแมลงทับ" || Back | ||
ไทยพบเฟิร์นชนิดใหม่ของโลก "แววปีกแมลงทับ" นักพฤษศาสตร์ไทย ค้นพบเฟิร์นชนิดใหม่ "แววปีกแมลงทับ" ในจังหวัดชุมพร ย้ำ กว่าจะได้รับการยอมรับต้องถกกับนักพฤษศาสตร์ต่างชาติอยู่หลายปี ขณะที่ข้อมูลด้านพรรณพืชอยู่ในแถบยุโรปเสียส่วนใหญ่ แจงปัญหา การศึกษาพรรณไม้ในเมืองไทยขาดคู่มือตรวจหาชื่อพรรณไม้ และตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบเป็นอุปสรรคในการศึกษา
"กว่าจะสรุปได้ว่า เป็นเฟิร์นชนิดใหม่ มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักพฤษศาสตร์ชาวต่างประเทศหลายครั้ง นักพฤษศาสตร์กลุ่มนั้นบอกว่า เฟิร์นชนิดนี้ไม่ใช่เฟิร์นชนิดใหม่ของโลก แต่ผมยังคิดว่า เป็นชนิดใหม่ จึงได้ทำการศึกษาต่อเนื่องเรื่อยมา จนในที่สุดได้ติดต่อกับ Dr. Hans P. Nooteboom จากพิพิธภัณฑ์ไลเคน ซึ่งเป็นสถาบันที่ศึกษาและทำวิจัยเรื่องเฟิร์นมากที่สุดในโลกสถาบันหนึ่ง และผมได้ยืนยันไปทางพิพิธภัณฑ์ว่า เฟิร์นที่พบนั้น เป็นเฟิร์นชนิดใหม่ พร้อมกับตั้งชื่อ เมื่อปลายปี 2544 จึงได้รับการตีพิมพ์ผลงานที่ได้ค้นพบออกมา" รศ.ดร. ทวีศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า เท่าที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องเฟิร์นอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 30 ปี พบว่าปัญหาหลักคือ เวลาที่เราได้ตัวอย่างพืชชนิดใดขึ้นมาและมีการตรวจหาชื่อ มีปัญหาหลักคือ ขาดคู่มือที่จำเป็นในการตรวจหาชื่อพืชชนิดนั้น ซึ่งไม่ได้เกิดเฉพาะแต่การค้นคว้าเรื่องของเฟิร์นเท่านั้น นักพฤษศาสตร์ส่วนใหญ่ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับพืช ก็ประสบปัญหาลักษณนี้เสมอ เหตุที่เราขาดคู่มือที่จำเป็นในการตรวจหาชื่อพรรณไม้นั้นเป็นเพราะเราขาดงลประมาณในการจัดทำ "การตั้งชื่อพรรณพืชชนิดใหม่ที่ค้นพบได้นั้น เราจะดูจากคู่มือตรวจหาชื่อพรรณไม้ของประเทศไทย และของประเทศอื่นๆ ถ้าไม่สามารถตรวจหาได้ เนื่องจากมีลักษณะไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในคำบรรยายลักษณะ ก็คาดว่าจะเป็นชนิดใหม่ของโลก ซึ่งขั้นตอนต่อไป คือ จะต้องศึกษาพรรณไม้ต้นแบบของชนิดที่มีลักษณะใกล้เคียง ที่มีการค้นพบและศึกษามาแล้ว เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบว่า เหมือนหรือต่างจากพรรณไม้ชนิดใหม่ที่เราค้นพบ ถ้าไม่เหมือนกับพรรณไม้ต้นแบบ ถือว่าพรรณไม้ชนิดใหม่ได้ถูกค้นพบขึ้น ปัจจุบันพรรณไม้ต้นแบบของไทยและประเทสเพื่อนบ้านจะอยู่ในพิพิธภัณฑ์พืชในยุโรปเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นการยากต่อการศึกษาเมื่อเทียบกับนักพฤกษศาสร์ชาวต่างชาติในยุโรป เขามีโอกาสศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์ได้มากกว่าเรา แม้ว่าพืชชนิดนั้นจะค้นพบจากบ้านเราก็ตาม ผมต้องเดินทางไปที่พิพิธภันฑในประเทศอังกฤกษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เพื่อศึกษาเรื่องของเฟิร์นหลายครั้ง เนื่องจากพิพิธภัณฑ์พืชเหล่านั้นมีพรรณไม้เขตร้อนบ้านเราเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะในอดีตการศึกษาพรรณไม้ได้เริ่มต้นศึกษาโดยชาวยุโรป ข้อมูลและตัวอย่างพรรณไม้ต้นแบบจึงอยู่ในยุโรปเสียส่วนมาก เช่น ที่พิพิธภัณฑ์พืชคิว ประเทศอังกฤษ พิพิธภันณฑ์พืชปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพธภันณฑ์พืชไลเคน ประเทศเนเธอร์แลนด์" รศ.ดร. ทวีสักดิ์ กล่าวถึงสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงของพรรณพืชสกุลเฟิร์นว่า อยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เพราะขณะนี้มีการส่งออกขายยังต่างประเทศกันมาก ขายครั้งหนึ่งๆ เป็นพันๆ กำ ตลาดในเมืองไทยที่ส่งเฟิร์นออกนอกประเทศอยู่ที่ตลอดต้นไม้สวนจตุจักร ทุกวันนี้ประเทศไทยมีการควบคุมห้ามขายพรรณพืชป่าแบบกว้างๆ โดยองค์การไซเตสประเมศไทย ซึ่งกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานที่ดูแลอยู่ แต่ไม่ทุกสกุล พืชสกุลเฟิร์นที่ควบคุมอยู่ตอนนี้ คือ มหาสดำ ระบุห้ามมีการซื้อขายเฟิร์นมหาสดำ ขณะที่ยังมีเฟิร์นอีกหลายชนิดที่ไม่ได้ควบคุม มีแนวโน้มจะหมดไป เพราะคนที่ซื้อไปปลูกไม่มีความเข้าใจ เมื่อนำไปเลี้ยง เฟิร์นอาจจะตาย......" สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) |
||
> #01008 ไทยพบเฟิร์นชนิดใหม่ของโลก "แววปีกแมลงทับ" || Back |