> #01012 การบัญญัติชื่อพฤกษศาสตร์ || Back

การบัญญัติชื่อพฤกษศาสตร์

สาระน่ารู้เรื่องนี้ แปลมาจาก Checklist of World Ferns; Taxonomy โดย Brian Swale นักวิทยาศาสตร์ด้านป่าไม้ ที่ประเทศ New Zealand ผมเห็นว่า เพื่อนๆ หลายคนอาจจะสงสัย ทำไมต้องมีชื่อวิทยาศาสตร์ และหลักการบัญญัติชื่อมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจอย่างไร ผมจึงได้ติดต่อคุณ Brian Swake เจ้าของเรื่อง เพื่อขออนุญาตถอดความมาเป็นภาษาไทยให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน อาจเป็นการเอามะพร้าวมาขายสวนให้กับหลายคนอาจรู้เรื่องเหล่านี้ดีอยู่แล้ว แต่ก็หวังว่า พอจะมีประโยชน์สำหรับเพื่อนคนอื่นๆ ที่อาจจะยังไม่เคยทราบมาก่อนนะครับ และสำหรับใครที่อยากอ่านภาคภาษาอังกฤษต้นฉบับ คลิกที่นี่นะครับ English

รายชื่อเฟินทั่วโลก; อนุกรมวิธาน

การบัญญัติชื่อพฤกษศาสตร์


โดย Brian Swale B.Sc.(NZ), M.A.(Forestry)(Oxon), New Zealand

Holttum ผู้เขียนหนังสือชื่อ พันธุ์ไม้ของมาเลเซีย ชุดที่ 2 เฟินในมาเลเซีย จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ของรัฐบาลประเทศสิงคโปร์

Professor R. E. Holttum
Professor Richard Eric Holttum

Professor Richard Eric Holttum (1895-1990) ผู้ซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตกับการศึกษาเรื่องเฟิน และถือได้ว่าเป็นผู้ที่รู้เรื่องเฟินมากที่สุดของโลก

ชื่อของเฟิน

ต้นไม้แต่ละชนิด ที่มีลักษณะโครงสร้างเหมือนกัน หลายๆ ชนิด ถูกนำมาจัดรวมกันเป็น สกุล (Genus) การบัญญัติชื่อ ส่วนมากใช้เป็นภาษาลาติน หรือภาษากรีกดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น สกุล Microlepia มาจากคำ 2 คำรวมกันแปลว่า มีเกล็ดหรือขนเล็กๆ เนื่องจาก เยื่ออินดูเซียที่ปิดหุ้มอับสปอร์ดูคล้ายเกล็ดเล็กๆ สกุลนี้มีหลายชนิด กระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนทั่วไป แต่ละชนิดได้รับการบัญญัติชื่อเฉพาะ โดยทั่วไปบัญญัติชื่อในรูปแบบลาตินด้วย เพื่อขยายความเข้าใจสำหรับแต่ละชนิด อย่างชนิดที่เรียกว่า Microlepia paberula หมายถึง มีขนเล็กน้อย มีอีกชนิดที่ชื่อ Microlepia ridleyi เนื่องจากค้นพบครั้งแรกโดย Mr. Ridley ชื่อของเฟินชนิดนี้ไม่ได้บอกลักษณะเฉพาะของเฟิน แต่บัญญัติชื่อให้เป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบครั้งแรก โดยเขียนในรูปของภาษาลาติน ลักษณะการบัญญัติชื่อแบบนี้เรียกว่า binomials หมายถึง การนำคำ 2 คำมารวมกันนั่นเอง ซึ่ง ระบบการบัญญัติชื่อแบบ binomial นี้ได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดย Kuhn ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2401

ต่อไปเราต้องตอบคำถามว่า ทำอย่างไรเราจึงจะทราบความหมายของชื่อ Microlepai ridleyi หรือ ตอบคำถามให้ได้ว่า ต้นไม้ที่เราพบนั้น เป็นต้นไม้ชนิดใด อยู่ในสกุลใด? ชื่อทางพฤกษศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ถ้าหากชื่อนั้น ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ลงในวารสาร หรือหนังสือทางด้านวิทยาศาสตร์ และพร้อมคำบรรยายลักษณะเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันในทางสากลจะเขียนในรูปของภาษาลาติน อย่างในกรณีของ Microlepia ridleyi เป็นชื่อที่ตีพิมพ์ใน Journal of Science ฟิลิปปินส์ ในปี พ.ศ. 2459 โดย Dr. E. B. Copeland ดังนั้น เราจะต้องกลับไปดูคำบรรยายที่ Copeland เขียนไว้ เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับต้นไม้ของเรานั้นตรงกันหรือไม่ ถ้าหากเรามีข้อสงสัยในจุดนี้ เราต้องมีแหล่งข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมอีก สำหรับต้นไม้แต่ละชนิด คำบรรยายลักษณะได้ยึดจากตัวอย่างแห้งที่เก็บรักษาไว้ และตัวอย่างนั้นกล่าวถึงเจ้าของตัวอย่างแห้งนั้นด้วย อย่างใน M. ridleyi ที่ Copeland ได้กล่าวถึงจากตัวอย่างหมายเลข 14208 เก็บรักษาไว้ที่ Ulu Temango ในเมืองเปรัคโดย Mr. Ridleyi ตัวอย่างนี้ถูกส่งมาจากสิงค์โปร มาเก็บไว้ที่มะนิลา ตัวอย่างอีกส่วนของ Mr. Ridleyi ยังคงเก็บไว้ที่สิงค์โปร์ และเก็บไว้ที่ the herbarium of the Botanic Gardens ด้วย หากเรามีชิ้นส่วนของต้นไม้แล้ว เมื่อเราไปดูเปรียบเทียบกับตัวอย่างที่รวบรวมเก็บไว้ที่สิงคโปร ์ ที่นี่มีพร้อมด้วยคำบรรยายลักษณะของตัวอย่าง มันจะช่วยให้เราตัดสินใจได้ว่า ตัวอย่างของเราเป็นต้นไม้ชนิดใด จะเป็นM. ridleyi หรือไม่ การเริ่มต้นเก็บสะสมตัวอย่างจากที่ Ridleyi เก็บไว้ โดยนาย Copel นี้เรียกว่า ประเภทของชนิด (type of species)

M. rildyi เป็นประเภทชนิดต้นไม้ ที่ถูกบัญญัติชื่อถาวรไว้แล้วและถือเป็นสิ้นสุดของการบัญญัติชื่อ แม้ว่า ไม่มีใครสามารถบรรยายลักษณะไว้ได้ครบถ้วนทุกลักษณะของต้นไม้ก็ตาม แม้บางครั้งมันยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ที่อาจพิสูจน์ทราบได้ถึงความแตกต่างระหว่างตัวอย่างที่เก็บไว้กับตัวอย่างอื่นๆ ดังนั้น จึงต้องอาศัยเวลาในการจัดทำคำบรรยายลักษณะเพิ่มเติมกันต่อไปในภายหลัง

บางครั้งอาจพบว่า มีการบัญญัติชื่อต้นไม้ที่เป็นคนละชนิดแต่บัญญัติซ้ำกันโดยคนบัญญัติชื่อคนละคนกัน ที่เวลาต่างกัน ทำให้เกิดความสับสนได้ จึงจำเป็นต้องระบุชื่อของเจ้าของชื่อ โดยใช้อักษรย่อต่อท้ายชื่อชนิดของต้นไม้ อย่างในกรณีตัวอย่างนี้ จึงใช้ชื่อว่า Microlepia ridleyi Copel.

ในปี พ.ศ. 2327 คุณ Thunberg นักพฤษศาสตร์ชาวสวีเดน ได้บรรยายลักษณะของเฟินชนิดหนึ่งที่เขาเรียกมันว่า Trichomanes strigosum ในยุคนั้น มีการจัดจำพวกไม่กี่สกุล และยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังด้วย จากการศึกษาต่อมาภายหลัง สกุล Trichomanes ควรถูกจัดให้เป็นเฟินอีกกลุ่มหนึ่ง ด้วยโครงสร้างอับสปอร์มีลักษณะเฉพาะ ชนิดเฟินของคุณ Thunberg ไม่ได้เป็นชนิดใดในกลุ่มของพวกมันเลย สกุล Microlepia จึงถูกจัดตั้งขึ้นใหม่ โดย Prsel นักพฤษสาตร์ชาวเชค ในปี พ.ศ. 2379 และใช้ฃื่อสกุลนี้มาจนถึงปัจจุบัน คุณ Presl จำได้ว่าเฟินของ Thunberg น่าจะถูกจัดอยู่ในสกุลนี้ ดังนั้น เขาจึงเรียกเฟินของ Thunberg ว่า Microlepia strigosa และมีคำบ่งชี้ชื่อของ Thunberg อยู่ในวงเล็บต่อท้าย เป็น Microlepia strigosa (Thb.) Prsel. ส่วนชื่อ Trichomanes strigmosa ถือเป็นชื่อ basinym หรือชื่อดั้งเดิมของเฟินชนิดนี้ นอกจากนี้ ยังมีเฟินอีกจำนวนมาก ที่มีประวัติความเป็นมาคล้ายกันเช่นนี้ รวมไปถึงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดสกุลของเฟิน เฟินบางชนิดอาจมีชื่อรวมอยู่ในหลายสกุล ด้วยเพราะมีนักพฤกษศาสตร์หลายคนได้บัญญัติชื่อไว้ให้

ชื่อ species ในส่วนที่ 2 ในลักษณะของ binomial มักไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ยกเว้น มีต้นอื่นในสกุลเดียวกันนั้นได้ใช้ชื่อ species นั้นไปแล้ว จึงยอมให้เปลี่ยนชื่อชนิด speies ได้ ตัวอย่างเช่น กรณีที่ Copeland ต้องการย้ายชนิด Alsophila commutata mett. ไปอยู่ในสกุล Cyathea และตั้งใจจะใช้ชื่อว่า Cyathea commutata แต่ก่อนหน้ามีเฟินอีกชนิด ที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง ได้ถูกบัญญัติเป็น Cyathea commutata ไปก่อนแล้ว จึงต้องบัญญัติชื่อให้ใหม่เป็น Cyathea recommutata mett.

นอกจากนี้ ยังพบว่า มีบางชนิด ที่มีชื่อมากกว่า 1 ชื่อ ด้วยที่เวลาต่างกัน คนบัญญัติชื่อคนละคนกัน ดังนั้น จึงมีกฏเกณฑ์ให้ใช้ ชื่อชนิด species ที่บัญญัติก่อนเป็นหลัก ไม่ว่าจะยังใช้ชื่อสกุลนั้นอยู่หรือไม่ กรณีตัวอย่างเช่น เฟินก้านดำในมาเลเซียชนิดหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2311 Burmann ได้ให้ชื่อว่า Adiantum denticulatum ในสกุลเฟินก้านดำ ซึ่งต่อมาได้ย้ายให้ไปอยู่ในสกุลเฟินนาคราช Davallia ต่อมาในปี พ.ศ. 2344 Swartz ได้บรรยายลักษณะใหม่ให้กับเฟินชนิดเดียวกันนี้และบัญญัติชื่อให้เป็น Davallia elegans ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอยู่นาน (ขื่อนี้ยังใช้อยู่ในหนังสือเฟินของอินเดียชื่อว่า Beddome's Handbook of Indian ferns) แต่กฏเกณฑ์สมัยใหม่แห่งการบัญญัติชื่อ ทำให้ชื่อที่ถูกต้องจึงเป็น Davallia denticulata ส่วนสาเหตุที่ทำไม Beddome ยังคงใช้ชื่อ D. elegans เนื่องจาก เป็นชื่อที่ใช้มานานและนักพฤษศาสตร์ยังไม่ได้ทำการตกลงเกี่ยวกับกฏเกณฑ์การบัญญติชื่อมาก่อนนั่นเอง บางคนจึงยังใช้ชื่อชนิดที่เก่าแก่ที่สุดกับชื่อสกุลที่ถูกต้อง ด้วยเหตุที่ยังมีคนใช้ชื่อชนิดที่เก่าแก่ที่สุดเพราะใช้กันมานาน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงและมีหลายชื่อตามมา

สำหรับการถกกันเรื่องนี้ ควรมีการติดตามกันต่อ เพราะมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากมาย ผู้อ่านควรค้นคว้าหาความถูกต้องกันต่อไปอีก กฏเกณฑ์ใหม่ที่ได้ตั้งกันขึ้นมาเรื่อยๆ ก็ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะให้ชื่อนั้นเป็นชื่อที่แน่นอนและเป็นที่สุด และหวังที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงอีกให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

แต่เมื่อใดที่เรายึดติดกับกฏอย่างเหนียวแน่น มันเป็นไปได้ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไปเกี่ยวกับชื่อที่ถูกต้อง ความเป็นไปได้นี้ในบางกรณีเกิดจากการสังเกตุที่น้อยเกินไปทำให้มีการถกเถียงกันเกิดขึ้น ลักษณะของเฟินบางชนิดยากต่อการอธิบายให้เข้าใจและไม่ง่ายที่จะทำให้ได้รับการยอมรับ หรือมันอาจมีสาเหตุจากการผันแปรของเฟินชนิดนั้น หรือเราอาจไม่รู้มากนักเกี่ยวกับการผันแปรที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในสภาพแวดล้อมหรือแม้แต่อายุของเฟินต้นนั้นด้วยซ้ำไป ดังนั้น การบัญญัติชื่อทางพฤกษศาสตร์ จึงไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและการตัดสินใจเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งนี้ต้องไม่ยึดติดอย่างความทิฐิด้วย

> #01012 การบัญญัติชื่อพฤกษศาสตร์ || Back