> #1016 CITES || Back
สาระน่ารู้ : CITES CITES Banner
Banner of the website CITES.ORG

หลายคนที่ชื่นชอบหรือสนใจ พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า คงจะเคยได้ยินคำว่า ไซเตส (CITES) กันมาบ้างไม่มากก็น้อย และในโอกาสที่ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมโซเซสของโลก ครั้งที่ 13 ในวันที่ 2 - 14 ต.ค. 2547 นั้น (รายละเอียดเพิ่มเติม Thirteenth meeting of the Conference of the Parties )

เรามาควรทำความรู้จักกับ CITES กันดีกว่า

ไซเตส (CITES) คือ อะไร?
CITES ย่อมาจากคำว่า Convention on lnternational Tradein Endangered Species of Wild Fauna and Flora
คือ อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์

สาเหตุที่ ต้องมี CITES เนื่องมาจาก การค้าสัตว์ป่าและพืชป่าทั่วโลกมีปริมาณและมูลค่ามหาศาล มีผลกระทบ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ต่อประชากรของพนธุ์ไม้และสัตว์ป่าในธรรมชาติ ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนบางชนิดใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งการลักลอบค้าพันธุ์ไม้และสตัว์ป่ามีมูลค่า รองลงมาจากการค้ายาเสพติด ดังนั้น เพื่อต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษย์ชาติของ ชนรุ่นนี้ และอนุชนรุ่นต่อไป โดยสร้าง
เครือข่ายทั่วโลก ในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งพันธุ์ไม้และสัตว์ป่า ตลอดจนผลิตภัณฑ์

การก่อตั้ง CITES
แนวความคิดการจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อคุ้มครองพันธุ์ไม้และสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ อันเนื่องมาจากการค้าของป่าข้ามประเทศ ได้เริ่มก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ในการอภิปรายระดับนานาชาติ ว่าด้วยเรื่องการค้าของป่า การอนุรักษ์ปกป้องพันธุ์ไม้และสัตว์ป่า จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2506 ในการประชุมสมาชิก IUCN (The World Conservation Union) ก็ได้มีการร่างรายละเอียดสำหรับอนุสัญญา CISTES ขึ้น และในที่สุด CITES ก็เป็นรูปเป็นร่างและได้มีสมาชิกร่วมลงนาม จำนวน 80 ประเทศ ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 3 มีนาคา 2513 และให้อนุสัญญา CITES มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วัoที่ 1 ก.ค. 2515 เป็นต้นไป จนกระทั่งปัจจุบันขณะนี้ CITES มีประเทศสมาชิกร่วมลงนามแล้วถึง 163 ประเทศทั่วโลก โดยมีสมาชิกน้องใหม่ล่าสุดเป็นลำดับที่ 163 คือ Albania ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ตะวันออกเฉียงใต้ และข้อตกลงตามอนุสัญญาจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 กันยายน 2546

CITES เป็นข้อคกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ ของประเทศสมาชิกที่ร่วมลงนามในอนุสัญญา ดังนั้น แม้จะไม่มีการระบุการให้ความร่วมมือในกฏหมายของประเทศสมาชิกก็ตาม สมาชิกยังคงต้องให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือตามอนุสัญญาที่ร่วมลงนาม และถือเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฏหมายอันพึงต้องกระทำด้วย

การทำงานของ CITES
งานของ CITES มุ่งเน้นไปที่การค้าระหว่างประเทศทั้งหมดที่มีการ นำเข้า ส่งออกนอกประเทศ รวมไปถึงการนำเข้าเพื่อส่งออกไปอีกประเทศ สำหรับ พันธุ์ไม้ สัตว์ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากป่าและจากทะเล ที่อยู่ในความควบคุมในข้อตกลงของอนุสัญญา ต้องผ่านชบวนการขออนุญาตจาก CITES ก่อน

ชนิดพันธุ์ในบัญชีควบคุมของ CITES
ชนิดพันธุ์ ของ พันธุ์ไม้ สัตว์ และผลิตภัณฑ์ ที่อยู่ในบัญชีการควบคุมของ CITES จัดเป็น 3 หมวด (Appendix I, II และ III) ตามระดับความจำเป็นในการปกป้อง

Appendix I : ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ การค้าในกลุ่มนี้จะได้รับอนุญาตได้เฉพาะกรณีจำเป็นที่ยกเว้น เช่น เพื่อการศึกษา วิจัย หรือขยายพันธุ์เทียม ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้า และต้องขออนุญาตจาประเทศที่ส่งออก

Appendix II : ชนิดพันธุ์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ แต่การทำการค้าต้อง อยู่ในความควบคุมหรือจำกัดปริมาณ เพื่อไม่ให้มีผลเสียหา หรือจำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็วจนใกล้สูญพันธุ์ ประเทศที่ยินยอมให้ส่งออก ต้องมีมาตรการและการควบคุมไม่ให้กะรทบต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้นในธรรมชาติ

Appendix III : ชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่ง อย่างน้อยหนึ่งประเทศแล้ว และได้ขอความร่วมมือจากประเทศสมาชิก ให้ช่วยควบคุมดูแลการนำเข้า ด้วยจะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด

ในกลุ่มสัตว์ป่า (Funa) ราว 5000 ชนิด และพันธุ์ไม้ (Flora) ราว 2,500 ชนิด ที่ขึ้นบัญชี CITES เพื่อปกป้องจากการลักลอบทำการค้าระหว่างประเทศ อยู่ในบัญชีรายชื่อ Appendices ทั้ง 3 ดังกล่าวข้างต้น

ปริมาณพืชป่าในอนุสัญญาไซเตส
บัญชีที่ I 310 ชนิด
บัญชีที่ II 24,881 ชนิด
บัญชีที่ III 6 ชนิด


gallery at website CITES


รายละเอียดอีกมากมายของ ชนิดพันธุ์ ทั้งข้อห้ามและข้อยกเว้น และอื่นๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ websie of CITES

สำหรับประเทศไทยของเรา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาไซเตส (ประเทศไทย) ได้แก่
สัตว์ป่า (Fauna) พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
พืชป่า (Flora) พ.ร.บ.พันธุ์พืช พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.พันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) 2535

การปฏิบัติงานตามอนุสัญญาไซเตส (ประเทศไทย แบ่งความรับผิดชอบดังนี้
กรมวิชาการเกษตร ------------ พืชป่า (Flora)
กรมป่าไม้ -------------------------- สัตว์ป่า (Fauna)
กรมประมง ------------------------ ปลาและสัตว์น้ำ (Fauna)

สาระสำคัญ พ.ร.บ. พันธุ์พืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535
พืชอนุรักษ์ หมายถึง พืชป่าในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญา CITES (มาตรา 3, มาตรา 29 ทวิ)
- ห้ามมิให้ผู้ใด นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาต (CITES Permits) จากอธิบดี-
กรมวิชาการเกษตร หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (มาตรา 29 ตรี)
- ผู้ใดประสงค์จะขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้า ให้ยื่นคำขอเป็นหนังสือเพื่อขอขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงอนุรักษ์เพื่อการค้าต่อ
กรมวิชาการเกษตร (มาตรา 29 จัตวา)
- การขยายพันธุ์เทียมต้องกระทำภายใต้การจัดการและควบคุมสภาวะแวดล้อมโดยมนุษย์ เพื่อการผลิตพันธุ์และต้องคงปริมาณพ่อ - แม่-
พันธุ์ไว้ (มาตรา 3 และประกาศกรมฯ)
(การยื่นขอจดทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์เพื่อการค้า ยื่น ณ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร ซึ่งปัจจุบัน-
เปลี่ยนเป็นกองคุ้มครองพันธุ์พืช)

บทกำหนดโทษ
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 29 ตรี (ไม่มีหนังสืออนุญาต CITES) หรือ ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 29 จัตวา (ไม่ยื่นขอจดทะเบียนสถานีที่เพาะเลี้ยงพืชอนุ
รักษ์เพื่อการค้า) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 3,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การขอหนังสืออนุญาตไซเตส
อนุญาตนำเข้า การอนุญาตให้นำเข้า จะต้องมีหนังสืออนุญาตส่งออกจากประเทศต้นทางกำกับมาด้วย และผู้นำเข้าสามารถขออนุญาตนำ
เข้าได้ ที่ด่านตรวจพืชทุกด้าน และที่สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร
อนุญาตส่งออก สามารถขออนุญาตส่งออกได้ที่สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงใหม่
ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานหาดใหญ่ และด่านตรวจพืชท่าเรือภูเก็ต
สำหรับพืชลูกผสม (Hybrids) ในบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส กรมวิชาการเกษตร จะบริการออกหนังสือรับรอง การส่งออกพืชลูก-
ผสมให้ โดยสามารถขออนุญาตส่งพืชลูกผสมได้ที่
- สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร
- งานมาตรฐานและบริการส่งออก กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และที่คลังสินค้าดอนเมือง
- ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานเชียงใหม่
- ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานหาดใหญ่
- ด่านตรวจพืชท่าอากาศยานภูเก็ต

ที่มาของข้อมูล www.CITES.org และ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช

> #1016 Cites || Back