

|
ว่านค้างคางดำ Tacca chamtrieri
วงศ์ TACCACEAE
ชื่ออื่น : เนียมฤาษี (เชียงใหม่), ม่านแผลน, ว่านนางครวญ (นครศรีธรรมราช),
นิลพูสี, มังกรดำ, ดีงูหว้า (เหนือ) ว่านพังพอน (ยะลา), ว่านหัวฬา,
ดีปลาช่อน, คลุ้มเสีย, ม้าถอนหลัก,
ว่านค้างคาวดำ เป็นไม้ล้มลุก มักพบในป่าบริเวณที่มีความชุ่มชื้น บริเวณร่มเงาใต้ต้นไม้ใหญ่
ลักษณะลำต้นเป็นเหง้าสั้น ไม่มีเนื้อไม้ ดอก คล้ายหน้าค้างคาว มีใบประดับดูคล้ายปีกกาง
สีม่วงเข้มเกือบดำ
ว่านค้างคาวดำ มีสรรพคุณทางยา เหง้า รสสุขุม ต้มหรือดองสุรา แก้โรคความดันต่ำ
บำรุงกำลังทางเพศ สตรีมีครรถ์ ใช้ทั้งต้นนำมาต้มอาบแก้เม็ดผื่นคันตามร่างกาย
มีอีก 2 สายพันธุ์ คือ T. integrifolia Ker-Gawl, T. agarrettii Craib.
การปลูกเลี้ยง : ปลูกเลี้ยงบริเวณร่ม หรือแสงรำไร เครื่องปลูกเป็นดินร่วน
มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายน้ำดีแต่เก็บความชื้นไว้ได้นาน ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป
|